ปัจจุบันนี้จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่หรือวัยไหนก็ตาม จะติดโทรศัพท์กันมาก สังเกตได้จากการเล่นโทรศัพท์บ่อยกว่าปกติ ทั้งที่ไม่ได้มีการโทรติดต่ออะไร แต่ก็กดเล่นแทบจะตลอดเวลา อาจจะเป็นเพราะโซเชียลสมัยนี้สามารถเข้าได้ถึงทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ทั้งไลน์ เฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ สื่อต่างๆ หรือแม้กระทั่งเกมออนไลน์ แม้กระทั่งอยู่ใกล้กันก็แทบจะไม่ใช้การติดต่อสื่อการโดยการพูดแต่กลับติดต่อกันโดยใช่โซเชียลเป็นสื่อกลางในการสนทนา อาจจะเป็นเพราะมีความสะดวก รวดเร็ว เข้าถึงง่าย จนกลายเป็นการติดโทรศัพท์โยที่เราไม่รู้ตัว เรามาทำความรู้จักกับโรคติดโทรศัพท์กันดีกว่าว่าเราเข้าข่ายกับโรคนี้หรือเปล่า
โนโมโฟเบีย (Nomophobia) มาจากคำว่า “no mobile phone phobia” เป็นศัพท์ที่หน่วยงายวิจัยทางการตลาดขนาดใหญ่ (YouGov) บัญญัติขึ้นเมื่อปี 2010 เพื่อใช้เรียกอาการที่เกิดจากความหวาดกลัว วิตกกังวลเมื่อขาดโทรศัพท์มือถือเพื่อติดต่อสื่อสาร และอาการนี้กำลังถูกเสนอจัดเป็นโรคจิตเวชประเภทหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มวิตกกังวล
ใครบ้างที่เข้าข่ายเป็นโรคโนโมโฟเบีย
– พกโทรศัพท์ติดตัวตลอดเวลา ต้องวางไว้ใกล้ตัวเสมอ รู้สึกกังวลใจมากเมื่อมือถือไม่ได้อยู่กับตัว
– หมกมุ่นอยู่กับการเช็กข้อความจากโซเชียลมีเดีย แอพพลิเคชั่นต่างๆ อัพเดทข้อมูลจากโทรศัพท์อยู่ตลอด หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาดูบ่อย แม้ไม่มีเรื่องด่วน
– เมื่อมีการแจ้งเตือนเข้ามาจากโทรศัพท์ จะให้ความสำคัญกับโทรศัพท์ในทันที ไม่เช่นนั้นจะไม่มีสมาธิ มีความกระวนกระวายใจ จนไม่สามารถทำภารกิจที่อยู่ตรงหน้าต่อได้
– เมื่อตื่นนอนก็เช็กโทรศัพท์เป็นอันดับแรก และก่อนนอนก็ยังคงเล่นโทรศัพท์ เล่นเกม
– เล่นโทรศัพท์เป็นประจำในขณะที่กำลังทำกิจกรรมอื่นๆในชีวิตประจำวัน เช่น ระหว่างรับประทานอาหาร เข้าห้องน้ำ ขับรถ หรือระหว่างนั่งรอรถเมล์ ขึ้นรถไฟฟ้า
– เมื่อหาโทรศัพท์ไม่เจอ จะรู้สึกตื่นตระหนกตกใจมากกว่าสิ่งของอย่างอื่นหาย
– กลัวโทรศัพท์ตัวเองหาย แม้ว่าจะวางอยู่ในที่ที่ปลอดภัยแล้วก็ตาม
– ไม่เคยปิดโทรศัพท์มือถือเลย
– ในแต่ละวันใช้เวลาพูดคุยกับผู้คนผ่านโทรศัพท์ในโลกออนไลน์มากกว่าพูดคุยกับผู้คนจริง ๆ รอบข้าง